ข่าวทั่วไทยสังคม

ศรชล.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาสัมพันธ์ มาตรการความปลอดภัยทางน้ำช่วงเทศกาลลอยกระทง

ศรชล.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาสัมพันธ์ มาตรการความปลอดภัยทางน้ำช่วงเทศกาลลอยกระทง

ศรชล.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาสัมพันธ์ มาตรการความปลอดภัยทางน้ำช่วงเทศกาลลอยกระทง

เมื่อวันที่ 2 พ.ย.66 น.อ.ณัฐพล สินพูลผล รอง ผอ.ศรชล.จว.สุราษฎร์ธานี ร่วมประชาประชาสัมพันธ์ มาตรการความปลอดภัยเทศกาลลอยกระทง พ.ศ.2566 มายังประชาชนชุมชนริมน้ำ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำชุมชน นายท้ายเรือ ผู้ประกอบการเรือ ท่าเรือ นักท่องเที่ยวและผู้โดยสารทางน้ำ โดยขอให้ปฎิบัติตามประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 283/2566 และ 284/2566 เพื่อความปลอดภัยในการคมนาคมทางน้ำ และลดอุบัติเหตุทางน้ำ

น.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ศรชล.จว.สุราษฎร์ธานี โดยศรชล.ภาค2 ได้นำ ประกาศของกรมกรมเจ้าท่า เรื่อง มาตรการเพื่อความปลอดภัย ในบระเพณีลอยกระทง พ.ศ.2566 คาดว่าจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวออกมาร่วมกิจกรรมลอยกระทงตามแหล่งท่องเที่ยวในแม่น้ำ ลำคลอง บีง อ่างเก็บน้ำ เขื่อนเก็บน้ำที่มีการเดินเรือ และชายทะเลเป็นจำนวนมาก ตังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยในการเดินเรือกรมเจ้าทำา จึงกำหนดมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย เกี่ยวกับการใช้ท่าเทียบเรือ การใช้เรือการเดินเรือ และประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยว ดังนี้


1. ท่าเทียบเรือ ให้ผู้ประกอบกิจการ หรือผู้ครอบครองท่าเทียบเรือ ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
1.1 ท่าเทียบเรือ ต้องคิตตั้งป้ายระบุจำนวนคนที่โป๊ะเทียบเรือสามารถรับน้ำหนักได้โดยติตเอาไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
1.2 ท่าเทียบเรือต้องมีพวงซูชีพ (LIFE BUOY ติดไว้บนท่าเทียบเรื่ออย่างน้อย 4 พวงพร้อมกับผูกเชือกติดไว้ที่พวงซูชีพมีความยาวอย่างน้อย 25 เมตร และต้องติดไว้ในที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันท่วงที
1.3 ติดตั้งไฟส่องสว่างบริเวณท่าเทียบเรือ และทางเดินขึ้น – ลง ให้เพียงพอ
1.4 จัดให้มีที่กั้นทางเดินขึ้นลงและจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมไม่ให้ประชาชนหรือ
นักท่องเที่ยวลงไปยืนบนโป๊ะเทียบเรือเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.1 เพื่ออำนวยความสะดวก พร้อมทั้งช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ กรณีพลัดตกน้ำด้วย
2. เจ้าของเรือและผู้ควบคุมเรือ ให้ทำการตรวจสอบเรือ และระมัตระวังความบ่ลอดภัยในการเดินเรือ โดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
2.1 ทำการตรวจสภาพตัวเรือ เครื่องจักรยนต์ของเรือ ให้มีความพร้อมและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
2.2 จัดเตรียมอุปกรณ์ประจำเรือ เช่น เบาะที่นั่งชูชีพ เสื้อซูชีพ พวงซูชีพและเครื่องมือดับเพลิงที่มีสภาพพร้อมต่อการใช้งานใด้ทันที
2.3 เรือโดยสาร ต้องติดตั้งป้ายระบุจำนวนคนโดยสารในที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
2.4 เรือทุกลำต้องเบิดโคมไฟเรือเดินตามกฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น โดยห้ามเปิดใช้โคมใฟอื่นใดที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการเดินเรือ
2.5 เรือทุกลำต้องบรรทุกคนโดยสาร หรือสิ่งของไม่เกินกว่าจำนวนที่ใด้กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้เรือ
2.6 ในการนำเรือเข้า – ออกท่เทียบเรือ ต้องรอจนกว่าร่องน้ำทางเดินเรือว่าง และให้ระมัดระวังไม่ให้กีดขวางต่อการเดินเรือขึ้น – ลงด้วย หากมีสิ่งอื่นบดบังสายดา ผู้ควบคุมเรือจะต้องแสดงสัญญาณเสียงหรือสัญญาณไฟทุกครั้ง
2.7 ขณะเรือแล่นสวนกัน หรือแซงกับเรือลำอื่นในระยะใกล้ ให้ผู้ควบคุมเรือลดความเร็วของเรือลง เพื่อไม่ให้คลื่นของเรือกระทบ หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่เรือลำอื่น
2.8 ผู้ควบคุมเรือทุกลำ ห้ามผู้โดยสารยืนหรือนั่งบริเวณหัวเรือ ท้ายเรือ กราบเรือและหลังคาเรือ หรือกระทำการนใดภายในเรือที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ และให้ปฏิบัติตามกฎหมายการเดินเรือโดยเคร่งครัด
2.9 ห้ามผู้ครบคุมเรือดื่มสุรา หรือเสพของมึนเมาโดยเด็ดขาด และต้องควบคุม ดูแลผู้โดยสารในเรือมิให้มีการกระทำใด  ที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่เรือหรือผู้โดยสารคนอื่น


3. ผู้ใช้บริการและสัญจรทางน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำต่อประชาชนนักท่องเที่ยว และผู้โดยสารเรือ ขอให้บฏิบัติ ดังต่อใปนี้
3.1 การโดยสารเรือ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ขณะลงเรือควรขอเสื้อชูชีพจากผู้ควบคุมเรือ เพื่อสวมใส่ หรือนำมาไว้ใกสัตัว

3.2 การแต่งกาย ควรใช้ชุดแต่งกายที่เหมาะสม สามารถถอดออกได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ สำหรับรองเท้าไม่ควรเป็นรองเท้าหุ้มข้อ และไม่ควรใช้ชนิดผูกเชือก
3.3 การลงเรือให้ยืนคอยบนท่าเทียบเรือก่อน และไม่ควรยืนรอบนโป๊ะท่าเทียบเรือสำหรับการขึ้น – ลงเรือจะต้องรอให้เรือจอดเหียบให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ควรแย่งกันขึ้น – ลง เมื่อลงไปในเรือแล้วให้เดินเข้าไปภายในตัวเรือ ห้ามยืนหรือนั่งท้ายเรือ หัวเรือ กราบเรือ และหลังคาเรือ หากพบว่าในเรือมีคนโดยสารหนาแน่นแล้ว ให้รอเรือลำต่อไป
3.4 ในขณะที่เรือเอียง หรือเรือโคลงอย่าตื่นตกใจ ให้ผู้โดยสารพยายามจับพนักพิงที่นั่งให้มั่น และอย่าพยายามขืนการเอียงของเรือ เพราะอาจเป็นเหตุให้เรือจมได้
3.5 ผู้โดยสารไม่ควรดื่มสุรา หรือเสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เพราะอาจจะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำขึ้นได้
3.6 ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวยืนรอบนที่พักผู้โดยสาร ไม่ควรยืนรอบนโป๊ะเทียบเรือเกินกว่าจำนวนคนที่กำหนดไว้ และขณะขึ้นลงเรือขอให้ฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ประจำทำเทียบเรือที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ทั้งนี้ทางศรชล.สุราษฎร์ธานี เองได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่และเรือพร้อมอุปกรณ์ไว้ออกตรวจตราร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ค่อยเฝ้าระวังและพร้อมเข้าตรวจสอบสถานที่ ที่มีประชาชน จำนวนมาก เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนต่อไป

////////

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button