ข่าวทั่วไทยสังคม

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” (Unite for Prevention of Violence against Women and Children)”

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด "รวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว" (Unite for Prevention of Violence against Women and Children)"

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” (Unite for Prevention of Violence against Women and Children)”

วันนี้ (25 พ.ย.66) เวลา 16.40 น. ที่ ศาลาทรงพระเจริญ ริมเขื่อนเเม่น้ำตาปี นายบัลดาล สถิรชวาลย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมี นางสาวชลลดา ชนะศรีรัตนกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี รองอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี , รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี , นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 สุราษฎร์ธานีนางโสภา กาญจนะ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กพสจ.) หัวหน้าหน่วยงานในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นักเรียน นักศึกษา ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 200 คน เข้าร่วมกิจกรรม

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมสนับสนุนทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกปี และในปี 2566 กำหนดสร้างกระแสสังคมให้เกิดความตระหนักต่อปัญหา และนำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วนในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ภายใต้แนวคิด “รวมพลังหยุดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” (Unite for Prevention of Violence against Women and Children)”

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ว่านับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งเป็นที่มาของปัญหาต่าง ๆ ในสังคมอีกมากมาย ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กและสตรี เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คนในสังคมมักจะมองว่า เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องของสามีภรรยา ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปัญหาความรุนแรง ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระดับปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมอีกด้วย
การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในประเทศไทยมีหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อมุ่งหวังให้ ความรุนแรงในสังคมไทยน้อยลงหรือหมดไปในที่สุด แต่เนื่องจากสาเหตุสำคัญของปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวเกี่ยวข้องกับทัศนคติและค่านิยม ของคนในสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ซึ่งส่งผล/เชื่อมโยงเกิดเป็นความรุนแรงในสังคมในรูปแบบอื่น ๆ ที่หลากหลาย เป็นปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งในเชิงป้องกันและการแก้ไข

ในส่วนของมาตรการทางสังคมมีการดำเนินการสร้างความตระหนัก ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เพื่อสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว การสร้างเจตคติ ค่านิยม และปลูกฝังมายาคติที่ถูกต้อง รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วม/รับผิดชอบและ เป็นพลังในการยุติปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว
ในโอกาสนี้ ขอให้ทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้รวมพลังในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการร่วม เป็นภาคีเครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไป

//////

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button