ข่าวทั่วไทยสังคม

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ระดมเจ้าหน้าที่กำจัดขยะทะเล ทำความสะอาดชายหาด หลังคลื่นลมแรงจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซัดพาขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและใต้ทะเลขึ้นบนชายหาดจำนวนมาก

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ระดมเจ้าหน้าที่กำจัดขยะทะเล ทำความสะอาดชายหาด หลังคลื่นลมแรงจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซัดพาขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและใต้ทะเลขึ้นบนชายหาดจำนวนมาก

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ระดมเจ้าหน้าที่กำจัดขยะทะเล ทำความสะอาดชายหาด หลังคลื่นลมแรงจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซัดพาขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและใต้ทะเลขึ้นบนชายหาดจำนวนมาก พร้อมขอความร่วมมือประชาชนช่วยคัดแยกขยะ บริหารจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ก่อนทิ้ง เพื่อลดปริมาณขยะทะเลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นายสุทิน พรหมปลัด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เปิดเผยว่า ด้วยช่วงเดือนพฤศจิกายน –มกราคมของทุกปี อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดคลื่นลมแรงซัดชายหาดและซัดพาขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและใต้ทะเลขึ้นบนชายหาดจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 120 กิโลกรัมขยะทะเลที่พบ เป็นขยะที่ลอยมาจากแม่น้ำลำคลองและตลอดแนวชายฝั่งไหลลงสู่ทะเล จำพวกขวดแก้ว ขวดพลาสติก โฟมและพลาสติกชิ้นเล็กๆ เช่น ช้อนพลาสติก หลอด ฝาขวดน้ำ ไฟแช็ค แปรงสีฟัน เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์เศษเชือก อวน และอุปกรณ์การทำประมงต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติทั้งชายหาดและใต้ทะเล รวมถึงทัศนียภาพและความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว


หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง กล่าวถึง แนวทางการกำจัดขยะทะเลว่า ทางอุทยานฯ ได้มีการการะดมกำลังเจ้าหน้าที่ ช่วยกันกวาดเก็บขยะชายหาดเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการคัดแยกขยะที่นำไปรีไซเคิลได้ และมีมาตรการควบคุมและบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฯ โดยใช้ระเบียบ กฎหมาย เช่น การห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมและบรรจุภัณฑ์พลาสติก แก้วพลาสติก กล่องบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก ซ้อนส้อมพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เข้าไปในเขตอุทยานฯ และอื่นๆ ตามระเบียบที่กรมอุทยานฯ กำหนด พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการนำเที่ยวในพื้นที่ในการนำขยะกลับฝั่งและการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


และขอความร่วมมือประชาชน ทุกภาคส่วน ร่วมความรับผิดชอบปกป้องดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยการ ใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก เช่นใช้ถ้วย จาน โฟมชานอ้อย หรือใช้ใบตองในการห่ออาหาร มีการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ต้นทาง ครัวเรือน และบริหารจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ เพื่อลดปริมาณขยะที่จะไหลสู่แม่น้ำ ลำคลอง และทะเลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button