รพ.บ้านตาขุนจัดกิจกรรม”โครงการคลินิก Smart NCD บริการลดยา และหยุดยา สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดัน โรงพยาบาลบ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี สนับสนุนโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข”
รพ.บ้านตาขุนจัดกิจกรรม"โครงการคลินิก Smart NCD บริการลดยา และหยุดยา สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดัน โรงพยาบาลบ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี สนับสนุนโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข"
รพ.บ้านตาขุนจัดกิจกรรม”โครงการคลินิก Smart NCD บริการลดยา และหยุดยา สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
โรงพยาบาลบ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี สนับสนุนโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข”
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 ต.ค.66 ที่ รพ.บ้านตาขุน อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯและนายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย พญ. สุพัตรา ศรีวณิชซากร ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย นพ.เอกพล พิศาล ผอ.รพ.บ้านตาขุน Mr.มิไฮ อีริเมสซู Cluster Head Asia Emerging Market โรช แผนกธุรกิจเบาหวาน ร่วมกิจกรรมโครงการ “คลินิก smart NCD บริการลดยา และหยุดยา สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโรงพยาบาลบ้านตาขุนสุราษฎร์ธานี สนับสนุนโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข”
นพ.จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าว “ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือผู้ป่วยที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในกลุ่มผุ้ป่วยทั้งหมดและจะยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกหลายสิบปีในอนาคตข้างหน้า การสร้างระบบสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาโรดเรื้อรังรวมไปถึงการตอบสนองความต้องผู้ป่วยกลุ่มนี้คือความท้าทายที่แท้จริงของยุคสมัยคือความมุ่งมั่น คือเป้าหมายที่สำคัญของบุคลากรสาธารณสุขทุกคนในจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี”
โรคเบาหวานนับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่รุนแรงที่สุดของโลกสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation) ประมาณการณ์ว่ามีประชากรราว 1 ใน 10 หรือ 537 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยด้วยโรดเบาหวาน และดาดว่าตัวเลขนี้จะสูงถึง 783 ล้านคนในปี 2588′ ประชากรวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรดเบาหวานมากกว่า 3 ใน 4 ยังอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำและปานกลาง นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนกว่า 6.7 ล้านรายในปี 2564 และก่อให้เกิดรายจ่ายด้านสุขภาพทั่วโลกเป็นมูลค่าสูงถึง 966 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรดเบาหวาน’ มากกว่า 4.4 ล้านคน และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 300,000 รายในแต่ละปี’
ในปี พ.ศ. 2562 บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แผนกธุรกิจเบาหวาน ร่วมสนับสนุน โรงพยาบาลบ้านตขุน สำหรับโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานผ่าน Personalised Diabetes Management (iPDM) หรือระบบการจัดการภาวะเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุดคล ซึ่งโครงการนำร่องนี้ นับว่าประสบความสำเร็จ และในปี พ.ศ. 2563 โรงพยาบาลบัานตาขุนได้ก่อตั้ง คลินิก Smart NCD โดยใช้มาตรการที่ผสมผสานการศึกษา การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรดเบาหวาน การนำ iPDM มาใช้ สามารถช่วยให้โรงพยาบาลพัฒนาการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2564 ได้มีการขยายผล สู่อีก 5 โรงพยาบาลชุมชนภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย รพ.บ้านนาสาร,รพ.บ้านนาเดิม,รพ.กาญจนดิษฐ์ ,รพ.ชัยบุรี และ รพ.เกาะพะงัน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มากขึ้น ปัจจุบันได้มีการเร่งพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมในอีกกว่า 12 โรงพยาบาลเพื่อให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีผลการดำเนินงานที่ผ่านมานับว่าน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งมีผู้เข้ารับบริการที่คลินิก Smart NCD แล้วกว่า 3,170 คน สามารถลดยาได้กว่า 1,450 คน หยุดยาได้กว่า 370 คน ลดน้ำหนักผู้ป่วยรวมกันอย่างต่อเนื่องกว่า 16,500 กิโลกรัม สามารถลดมูลค่าการใช้ยาได้กว่า 799,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงดวามสุขที่เกิดจากการมีสุขภาพที่ดีขึ้นและการรับประทานยาที่ลดลงในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวอีกด้วย
ด้าน รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ เลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯและนายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ชี้แจงว่านอกจากพันธกิจในการสนับสนุนเชิงวิซาการเกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่ถูกต้องให้กับบุดลากรและประชาชนทั่วประเทศแล้ว สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย รวมถึงสมาคมเครือข่ายโรดไม่ติดต่อไทย ยังมุ่งมั่นที่จะแสวงหาพันธมิตรจากทุกภาคส่วนเพื่อผนึกกำลังกันในการแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง เพราะทางสมาคมเชื่อว่าวิธีการเดียวเท่านั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้คือ ความร่วมมือ “หัวใจสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานหรือความดันให้เข้าสู่ภาวะสงบอย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่ยา แต่คือทักษะในการรับฟังและเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่าง รวมไปถึง ทักษะในการให้กำลังใจและการให้ความรู้ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ และไม่มีใครอยากกินยาไปตลอดชีวิต ในปัจจุบันเราเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skills ทั้งที่เป็น Communication skll และ Empathic skill ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว”
พญ. สุพัตรา ศรีวณิชซากร ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าว การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคตาประสาทที่มากับโรคเบาหวานได้ถึง 40% เนื่องจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองถือเป็นวิธีการดูแลโรคเบาหวาน’ ที่ทุกคนทำได้และมีราคาไม่แพง ทั้งยังสามารถลดภาระในการรักษาโรคเบาหวานทั้งสำหรับทั้งตัวคนไข้เองแลโลหิตด้วยตนเองที่บ้านยังนับว่าสำคัญในการดูแลผู้ป่วย เพราะนอกจากสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถใช้ในการวางแผนการรักษาของแพทย์ให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ละรายได้อีกด้วย
Mr.มิไฮ อีริเมสซู Cluster Head Asia Emerging Market โรช แผนกธุรกิจเบาหวาน กล่าวว่า “การจับมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ดูแล และผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจในการรักษา โดยที่เรากำลังใช้แนวทางร่วมกันและเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางผ่านการจัดการของ iPDM – integrated Personalised Diabetes Management หรือระบบการจัดการภาวะเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุดคล เพื่อเป็นการสร้างโครงสร้างการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน พร้อมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยได้รับการดูแลอย่างพึงพอใจ” นอกจากนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการประชุม IDF World Diabetes Congress 2025 เป็นครั้งแรกในภูมิภาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 10,000 คน งานครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเลริมความร่วมมือและการดำเนินการทางการเมืองที่จำเป็นในการกำหนดให้โรคเบาหวานเป็นวาระด้านสุขภาพระดับโลก รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยด้วยโรดเบาหวานและผู้ที่มีความเสี่ยง ความสำเร็จของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นการเน้นย้ำว่าโรคเบาหวานสามารถควบคุมให้อาการสงบได้และบริการต่างๆ ก็สามารถนำเสนอแก่ผู้ป่วยได้จากระยะไกล ผ่านการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ ทักษะ และการเชื่อมต่อออนไลน์อย่างเหมาะสมต่อไป
////////