Uncategorized

เรือหลวงหาญหักศัตรู เบิกนำลงปฎิบัติภารกิจสุดท้าย รับมือภาวะโลกรวน เสริมความแข็งแกร่ง ป้องแนวปะการังธรรมชาติ ท่องเที่ยวเกาะเต่าอย่างยั่งยืน

เรือหลวงหาญหักศัตรู เบิกนำลงปฎิบัติภารกิจสุดท้าย รับมือภาวะโลกรวน เสริมความแข็งแกร่ง ป้องแนวปะการังธรรมชาติ ท่องเที่ยวเกาะเต่าอย่างยั่งยืน

เรือหลวงหาญหักศัตรู เบิกนำลงปฎิบัติภารกิจสุดท้าย รับมือภาวะโลกรวน เสริมความแข็งแกร่ง ป้องแนวปะการังธรรมชาติ ท่องเที่ยวเกาะเต่าอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยพลเรือโท กฤษฎา รัตนสุภา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ พลเรือตรี ธวัชชัย พิมพ์เมือง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 2 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า ภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบพิธีจัดวางเรือหลวงหาญหักศัตรู ซึ่งปฏิบัติภารกิจในท้องทะเลมากว่า 47 ปี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลพื้นที่เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า กองทัพเรือ โดยเฉพาะผู้บัญชาการทหารเรือท่านให้ความสำคัญกับโครงการนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากจะช่วยในการด้านฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเลแล้ว ยังจะช่วยด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้และอยู่ในพื้นที่มีความสำคัญของประเทศไทย ที่ผ่านมากองทัพเรือ เคยมอบเรือที่ปลดประจำการ คือเรือสัตกูด มาจัดวางเป็นจุดดำน้ำเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2554 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในยามปกติเรือรบเป็นพาหนะที่สำคัญในการป้องกันประเทศ การนำเรือที่ปลดประจำการมาจัดวางเรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการังธรรมชาติถือเป็นการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ  และถือว่าเป็นการรับใช้ชาติครั้งสุดท้าย ที่ผ่านมากองทัพเรือเองก็ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการจัดวางเรือเป็นอุทยานใต้ทะเลในหลายพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยในการลดผลกระทบการเข้าไปใช้ประโยชน์ ฟื้นฟูรักษาแนวปะการังและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน

ด้าน นางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า กล่าวว่า แนวปะการัง เป็นต้นทุนสำคัญยิ่งของสังคมและเศรษฐกิจของเกาะเต่า พวกเราเห็นความสำคัญว่าเราต้องร่วมกันอนุรักษ์ ดูแล ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลแห่งนี้ ให้มีประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือกับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพอากาศแปรปรวน จากอิทธิพลของเอลนีโญ และลานีญา ที่อาจส่งผลต่อแนวปะการังธรรมชาติที่มีความเปราะบาง

//////

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button