ข่าวทั่วไทย

กสศ. เปิด3 โมเดลความสำเร็จเสริมหลักสูตรพัฒนาอาชีพเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาภาคบังคับโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชนสถานศึกษาและครอบครัวจนสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ก้าวข้ามความยากจน

กสศ. เปิด3 โมเดลความสำเร็จเสริมหลักสูตรพัฒนาอาชีพเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาภาคบังคับโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชนสถานศึกษาและครอบครัวจนสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ก้าวข้ามความยากจน

เปิด3 โมเดลความสำเร็จการศึกษาก้าวข้ามความจน

กสศ. เปิด3 โมเดลความสำเร็จเสริมหลักสูตรพัฒนาอาชีพเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาภาคบังคับโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชนสถานศึกษาและครอบครัวจนสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ก้าวข้ามความยากจน

สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือกสศ. ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาเยาวชนและแรงงานนอกระบบที่กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากลาง.3 .วิภาวดี.วิภาวดี.สุราษฎร์ธานีเมื่อเวลา09:00 . วันที่30 ..65 เพื่อติดตาโครงการหนุนเสริมวิชาการและการจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ  หลังมีการพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะเยาวชนจนสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ช่วยครอบครัว  โดยใช้ผึ้งเป็นจุดการเรียนรู้ร่วม

ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้จัดการโครงการหนุนเสริมวิชาการและการจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบกล่าวว่าเสน่ห์ของโครงการนี้คือการใช้ผึ้งเป็นตัวมาเชื่อมโยงการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนครอบครัวและองค์กรต่างๆได้ช่วยกันทำและได้รับความรู้จากการทำก่อให้เกิดงานเกิดอาชีพเลี้ยงครอบครัวและชุมชนเกิดความเข้าใจธรรมชาติของป่าซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

โดยโครงการในครั้งนี้สืบเนื่องจากที่สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักเรียนยากจนสูงขึ้นที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้นหรือไม่เรียนต่อหลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับเพื่อประกอบอาชีพและหาเลี้ยงครอบครัวทั้งนี้พบว่าเยาวชนฐานะยากจนยังขาดโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงกว่าภาคบังคับ(.ปลายสายอาชีพ) นักเรียนครัวเรือนยากจนมีโอกาสศึกษาในระดับ.ปลายเพียงร้อยละ53 ขณะเดียวกันนักเรียนยากจนพิเศษสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เพียงร้อยละ10 เท่านั้น

เช่นเดียวกับสถานการณ์แรงงานพบว่ามีประชากรวัยแรงงานวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและต่ำกว่าจำนวนมากกว่า16.1 ล้านคนส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบที่ทำงานลักษณะกึ่งฝีมือหรือไร้ฝีมือต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางรายได้และขาดการคุ้มครองทางสังคมรวมไปถึงความท้าทายกับการเปลี่ยนผ่านการผลิตจากเทคโนโลยียุค3.0 ไปสู่ยุค4.0 ที่ต้องการแรงงานมีฝีมือมากขึ้น

นายพัฒนพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกสศ.  กล่าวว่าบทบาทของกสศ.หลักๆคือการคุณภาพการศึกษาและให้กลุ่มที่มีข้อจำกัดได้เข้าถึงการศึกษาได้ใช้เรื่องของการเรียนรู้มาพัฒนาศักยภาพของตัวเองนอกจากยังพบเด็กในกลุ่มที่จบการศึกษามาแล้วแต่ยังมีทักษะไม่เพียงพอในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตัวเองทางกสศ.จึงหาเครื่องมือในการมาช่วยเด็กกลุ่มนี้จึงได้ไอเดียในการใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแลเพราะเด็กที่หลุดออกจากระบบหรือที่จบแล้วแต่ยังไม่มีงานทำก็ต้องอยู่บ้านซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่างๆอยู่แล้วและใช้การประกอบอาชีพในชุมชนมาพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพการใช้ชีวิตให้กับเด็กๆกลุ่มนี้  โดยเข้ามาช่วยสนับสนุนการให้ความรู้การทำบรรจุภัณฑ์และการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มเป้าหมายประสบผลสำเร็จและเจริญเติโต

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากสศ. มีโครงการดึงเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบการศึกษาได้รับโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการพัฒนาความรู้หรือทักษะฝีมือจนมีสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพตามศักยภาพหรือพัฒนาการศึกษาทางเลือกเพื่อเยาวชนและแรงงานขาดโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพที่สูงขึ้นผลดำเนินการพบว่าเด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาหลังเรียนภาคบังคับและได้รับการพัฒนาทักษะวิชาชีพประสบความสำเร็จสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวฝึกทักษะคนพิการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ความสำเร็จ

กรณีแรกกสศ.ได้ร่วมกับสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้คนพิการในศูนย์ฯได้พัฒนาทักษะอาชีพโดยการทำอาหารแปรรูปนางวิสาขะ อนันธวัช อายุ54 ปี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการเล่าว่าที่ผ่านมากลุ่มผู้พิการของศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับการฝึกฝนทักษะด้านต่างเช่นการแปรรูปอาหารการตัดเย็บการนวดการเสริมสวยแต่ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้เครื่องหมายรับรองคุณภาพสถานที่ผลิตไม่เป็นสัดส่วนและไม่ถูกต้องตามGMP ทำให้กลุ่มผู้พิการไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการพัฒนาทักษะการแปรรูปอาหารของผู้พิการยกระดับทักษะด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของกลุ่มผู้พิการให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจนสามารถจำหน่ายได้

หลังผ่านการฝึกทักษะ6เดือนกลุ่มผู้พิการสามารถสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปสามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ไตปลาแห้งได้นานขึ้นจาก3 วันเป็น90 วันโดยระหว่างนี้กำลังดำเนินการขอมาตรการสินค้าจากอย. และรับรองสถานที่ผลิตสินค้าเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การพัฒนาทักษะทำผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานแล้วยังฝึกการเรียนรู้วิธีการขายของออนไลน์โดยนางสาวฐิตา สำเภารอด อายุ20 ปีเล่าว่าได้เรียนรู้การทำอาหารหลายอย่างเรียนรู้วิธีการไลฟ์สดการขายของออนไลน์วิธีการโน้มน้าวใจลูกค้าให้ซื้อผลิตภัณฑ์ช่วยแม่(พี่เลี้ยง) ขายของและมีการสอนถ่ายรูปสินค้าให้น่าสนใจเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

อย่างไรก็ตามนางสาวรสฤทธ์แสงมณีอายุ36 ปีครูพี่เลี้ยงเสริมว่าจริงแล้วเขาจะมาช่วยในเบื้องหลังไลพีสดช่วยหยิบของช่วยเปีดเพลงช่วยสนับสนุนครูพี่เลี้ยงที่ทำการไลฟิสดที่เขาช่วยขายไม่ได้เพราะมีกฎหมายคุ้มครองผู้พิการบนโลกโซเชียลดังนั้นสิ่งที่น้องทำได้แค่อยู่เบื้องหลังเท่านั้นฝึกทักษะวิชาชีพ– ‘ทักษะชีวิตไม่ทำผิดซ้ำอีก นอกจากนั้นกสศ.ร่วมกับมูลนิธิไรท์ทูเพลย์และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสุราษฎธานีจัดทำโครงการการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบด้วยการเปิดโอกาสให้น้องในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต8 จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้วางแผนและกำหนดกติกาตลอดจนเลือกอาชีพที่ชอบด้วยตัวเองผลก็คือทำให้เด็กเยาวชนเกินครึ่งเห็นโอกาสทางอาชีพบางคนจะไปต่อยอดกิจการของครอบครัวเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กทำผิดซ้ำอีก

เทพธีระ ชัยอิ่นคำ ผู้รับผิดชอบโครงการบอกว่าจากการเก็บข้อมูลพบว่ากว่า45 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับการปล่อยตัวยังคงกระทำความผิดซ้ำสาเหตุหลักมาจากการความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ตัวเองสังกัดบอกว่าสำหรับกลุ่มที่ได้รับโอกาสก็จะมีทางเลือกใหม่ในชีวิตและไม่หวนคืนกลับสู่สถานพินิจโครงการการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนเข้ามาช่วยฝึกอาชีพฝึกทักษะชีวิตจากกระบวนการงานร่วมกันจนทำให้เยาวชนค้นพบตัวเองว่าชื่นชอบอาชีพอะไรหรือมีความฝันอะไรและพบว่าชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้เสมอเราพบว่าแนวทางดังกล่าวช่วยในเรื่องพัฒนาวิธีคิดและช่วยปรับมายเซตของน้องๆเยาวชนเพราะในกระบวนการทำงานโดยเฉพาะเรื่องการฝึกอาชีพเป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆได้ร่วมกันคิดวางแผนและกำหนดกติการวมถึงเลือกอาชีพที่ตัวเองชอบและถนัดที่นอกเหนือจากอาชีพที่ทางศูนย์เปิดอบรมขณะเดียวกันครูพี่เลี้ยงก็ได้รับการพัฒนาทักษะไปพร้อมกับเด็กด้วยซึ่งผลของการทำโครงการพบว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวน20 คนที่จะได้รับการปล่อยตัวในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2565 สามารถเริ่มต้นประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

นอกจากนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการโครงการสามารถสร้างพลังแห่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างดีสมาชิกมีทักษะเรื่องการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายในครัวเรือนจนสามารถไปกำหนดแผนชีวิตของตนเองมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงเฉลี่ยครัวเรือนละ35,000-45,000บาท/ปีเกิดการขยายผลเครือข่ายภายในคือเกิดกลุ่มแม่บ้านสมาชิกที่รวมตัวกันแปรรูปผลผลิตจากน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายจากภายในและภายนอก

จ่าโทโกเมศร์ ทองบุญชู อายุ62 ปีอาชีพเกษตรกรเป็นการยกระดับการเลี้ยงผึ้งโพรงแปลงใหญ่ในนามวิสาหกิจผึ้งโพรงไทยโดยขยายพื้นที่และรับผิดชอบโครงการเล่าว่าในปีนี้กลุ่มเป้าหมายจากเดิมให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่อำเภอชะอวดจำนวน100 คนประกอบด้วยแรงงานนอกระบบที่เป็นเกษตรกร45 คนผู้ว่างงาน68 คนและผู้พิการ17 คนเพื่อให้ครอบครัวอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติมีระบบดูแลครอบครัวภายใต้กิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงที่เชื่อมโยงทั้ง5 มิติได้แก่สังคมเศรษฐกิจสุขภาพสิ่งแวดล้อมวิถีชุมชนและการหนุนเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการนอกจากนี้ยังมีการอบรมการออกแบบและส้ร้างกระบวนด้านการตลาดซึ่งเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดทำช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของการทำตลาดในยุคดิจิตอล

///////

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button