ข่าวทั่วไทยวาไรตี้สังคม

ชาวบ้านร่วมบวงสรวง รูปหล่อ คนธรรพ์ แห่งเดียวของประเทศ เพื่อเป็นแลนต์มาร์คท่องเที่ยวชุมชน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชน

ชาวบ้านร่วมบวงสรวง รูปหล่อ คนธรรพ์ แห่งเดียวของประเทศ เพื่อเป็นแลนต์มาร์คท่องเที่ยวชุมชน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชน

คนธรรพ์ ความเชื่อสู่การอนุรักษ์ป่าชุมชนและแหล่งน้ำ

ชาวบ้านร่วมบวงสรวง รูปหล่อ คนธรรพ์ แห่งเดียวของประเทศ เพื่อเป็นแลนต์มาร์คท่องเที่ยวชุมชน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชน

ชาวบ้าน บ้านน้ำเกลี้ยงกว่า 300 คน ร่วม งานพุทธาภิเษก เทวาพิเษก อนุสาวรีย์ คนธรรพ์ แห่งแรกในประเทศไทย
เมื่อเวลา 13:00 น. วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 ณ ศาลากลางน้ำบ้านน้ำเกลี้ยง (ป่าพรุกง) หมู่ 2 ต.บ้านนา อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฏร์ธานี ที่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธา ของชาวบ้าน ซึ่งต่างเคารพนับถือ จนก่อเกิด “อนุสาวรีย์ คนธรรพ์“ แห่งแรกในประเทศไทย ตามความเชื่อและเรื่องเล่าของบรรพบุรุษ

นางสุชาดา ขวัญจิตร อายุ 77 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ เล่าวว่า ตนเองเกิดและโตที่นี่ ได้ยินแม่เฒ่าเล่าเรื่องคนธรรพ์มาตั้งแต่เด็กๆ จนถึงปัจจุบันก็เชื่อว่ามีคนธรรพ์ในป่าพรุกง ของชุมชน โดยเชื่อกันว่า คนธรรพ์ เป็นเทพองค์หนึ่ง พื้นที่นี้เป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างหมู่ 1 กับ หมู่ 2 มีคนเคยได้ยินเสียงดนตรีไทยดังในพื้นที่ แต่หาแหล่งที่มาไม่เจอคนในหมู่ 1 คิดว่าเสียงดนตรีมาจากหมู่ 2 ส่วนคนหมู่ 2 ก็คิดว่าเสียงดังมาจากหมู่ 1 นอกจากนั้นยังมีเรื่องเล่าว่า คนธรรพ์ เป็นผู้สร้างวัดใต้(วัดบ้านนาปัจจุบัน) ซึ่งชาวบ้านเล่าว่า คนธรรพ์เดินเท้าออกจากป่าไปสร้างวัดใต้ ชาวบ้านจึงเชิญชวน รับประทานอาหารเป็นเวลานับเดือนจนสร้างวัดใต้เสร็จ แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบร่องรอยของคนธรรพ์ ร่วมถึงเรื่องเล่าว่าใน ป่าพรุกง จะมีต้นงิ้ว เมื่อน้ำไหลผ่านจะกลายเป็นสีดำ ทำให้ชาวบ้านเรียกว่าคลองน้ำดำ ทำให้ทุกคนเชื่อว่าในป่าพรุกงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ เทพแห่งการดนตรี ตามความเชื่อของชาวบ้าน

จนก่อเกิด “อนุสาวรีย์ คนธรรพ์” แห่งแรกในประเทศไทย บริเวณ มรดกธรรมชาติป่าพรุกงบ้านน้ำเกลี้ยง แห่งนี้ ซึ่งเป็นป่าชุ่มน้ำมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งน้ำ อาหาร สมุนไพร ที่อยู่ของสัตว์ป่า ปัจจุบันป่าพรุกง ได้ถูกบุกรุก ทำให้ระบบนิเวศน์เสื่อมสภาพ จึงมีแนวทางร่วมกันอนุรักษ์ละใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนต่อไปให้กับคนรุ่นหลัง โดยการร่วมมือทั้ง กศน.อำเภอบ้านนาเดิม , อบต.บ้านนา, เทศบาลตำบลบ้านนา , สถานศึกษา และ กลุ่มอนุรักษ์ เกิดการอนุรักษ์ป่าชุมชน และจะอนุรักษ์ให้เป็นป่าต้นน้ำให้คนในชุมชนได้ใช้ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เนื่องจากมีความหลากหลายทางธรรมชาติ

ซึ่งก็มีการสำรวจพบ สัตว์ 32 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 ชนิด นก 15 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 9 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 4 ชนิด พบสถานภาพแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด เช่น นกอีเสือ , นกยาง , นกกระเต็น , นกปรอทสวน ตะพาบน้ำ , เต่า ปลาดุก , ปลาดุกดำ , ปลาช่อน ลิงเสม , ค่างแว่นถิ่นใต้ เป็นต้น

รวมถึงสำรวจพบพรรณไม้ป่าพรุกงด้วน-คลองน้ำดำทั้งสิ้น 176 ชนิด จาก 147 สกุล 74 วงศ์ แบ่งเป็นเฟิร์น 8 วงศ์ ใบเลี้ยงคู่ 54 วงศ์ ใบเลี้ยงเดี่ยว 12 วงศ์ เป็นพืชหายาก 2 ชนิด เป็นพืชนำเข้าไปปลูก 3 ชนิด เช่น ตองกง , เสม็ดชุน , หว้าน้ำ , ย่านลิเภา , หลาวชะโอน, ชมพู่น้ำ , หม้อข้าวหม้อแกงลิง , น้ำลายกบ , หวายน้ำ, ตีนเป็ดนา , เฟิร์นสามร้อยยอด , หมากงาช้าง , นมตำเลีย

ซึ่งในวันนี้ทางชุมชน ต่างช่วยกันร่วมกันอนุรักษ์ป่าพรุกง โดยมีการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าพรุกง โดยมีแกนนำชาวบ้าน นักเรียน นักศึกษาและภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกรักษ์หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของป่าพรุกง จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิทยากร ภูมิปัญญาของชุมชน เช่น กิจกรรมนักสืบสายน้ำ จัดเป็นป่าอนุรักษ์ของตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในวันสำคัญต่างๆ ใครอยากสักกการะ องค์เทพ คนธรรพ์ และศึกษาธรรมชาติ สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ ที่พิกัด ศาลากลางน้ำ บ้านน้ำเกลี้ยง หมู่ 2 ต.บ้านนา อ.บ้านนาเดิมจ.สุราษฏร์ธานี

//////

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button